top of page

ความฝันมาจากไหน?

ในแต่ละวันเราได้รับข้อมูลมากมาย สมองของเราจึงต้องหาวิธีจัดการข้อมูลเหล่านั้น โดยการกรองสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปบ้าง หลังจากนั้นตกตะกอนเป็นความทรงจำ . มีสมมุติฐานว่าไว้ ความฝันก็คือความพยายามของสมองที่จะกลั่นกรองความรู้ ประสบการณ์มาจัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ . ช่วงแรกๆที่เราหลับ สมองจะเรียบเรียงความทรงจำที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นาน แต่ช่วงท้ายของการนอนหลับจะเรียบเรียงความทรงจำที่เกิดขึ้นนานแล้ว จะเห็นว่าในความฝันช่วงแรกจะสับสนไม่เป็นเรื่องราว แต่ช่วงท้ายๆจะเป็นเรื่องต่อเนื่องกันทั้งหมด . ส่วนเนื้อหาของความฝันขึ้นกับประสบการณ์ของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับว่าสมองจะรีรันช่วงไหนของชีวิตขึ้นมาฝันบ้าง . ทำไมบางทีก็ฝันร้าย บางทีก็ฝันดี? . ลองสังเกตดูว่าถ้าวันไหนเราเจอเหตุการณ์ร้ายๆมาตลอดวันคืนนั้นเราอาจจะนอนฝันร้ายได้ ต่างจากวันที่อารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ ความฝันมักจะออกมาดี . ฝันร้ายมักเกี่ยวกับความกังวลในใจ ความเครียดภายใน ความปั่นป่วนทางอารมณ์จากประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต ยาเสพติด เหล้า หรือยาบางตัวที่หมอสั่งอาจทำให้ฝันร้ายได้เช่นกัน . ไม่มีใครอยากฝันร้ายแต่บางครั้งเราก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงเรื่องฝังใจหรือความเครียดในชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นควรมีวิธีผ่อนคลายร่างกายและจิตใจเพื่อป้องกันฝันร้าย . ช่วงก่อนนอนเราไม่ควรรับอารมณ์ต่างๆมารบกวนจิตใจ ซึ่งจะกลายเป็นความฝันได้ง่ายกว่าช่วงเวลาอื่นๆ การนั่งสมาธิ สวดมนต์จะช่วยให้จิตใจผ่อนคลายได้ดี . หากฝันร้ายจนตื่นอาจเกิดเพราะความไม่สบายตัว เช่น ดื่มน้ำก่อนเข้านอนมากไป แล้วฝันว่าไปเข้าห้องน้ำ เมื่อตอนเด็กการควบคุมกระเพาะปัสสาวะยังทำได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่อาจเป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนผ้าปูที่นอนใหม่ แต่เมื่อโตขึ้นควบคุมได้ดีขึ้น เราอาจจะแค่สะดุ้งตื่นขึ้นมาแล้วรีบวิ่งเข้าห้องน้ำแทน ดังนั้นควรเข้าห้องน้ำหรือเลี่ยงการดื่มน้ำมากๆก่อนเข้านอน . สิ่งสำคัญที่เราควรทำความเข้าใจคือ “ความฝันคือความฝัน” ไม่ใช่เรื่องจริง แม้เราจะรู้สึกเหมือนว่าเป็นเรื่องจริงแต่นั่นเป็นเพียงเรื่องราวในสมองเราเท่านั้น เหมือนหนังเรื่องหนึ่งที่ฉายแล้วจบไปไม่ส่งผลอะไรกับชีวิตเรา แม้จะรู้สึก เสียใจ ตื่นเต้น ตกใจ ไปกับเนื้อเรื่องก็ตาม . . . อ้างอิงจาก นอนถูกวิธี สุขภาพดีตลอดชีวิต โดย นพ.ตนุพล วิรุฬหการุญ . . #สุขศาสตร์ #ความฝัน #ฝันร้าย

ดู 2 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page