top of page

ความสุขจากการสร้างอะไรสักอย่าง

จำความรู้สึกที่เคยสร้างหรือประกอบสิ่งของอะไรบางอย่างด้วยตนเองได้ไหม? . เรามักรู้สึกถึงความยากลำบากและความวุ่นวายในขณะสร้างบางสิ่งบางอย่าง ก่อนสิ่งนั้นจะสำเร็จออกมาเป็นรูปเป็นร่าง แต่เมื่อสำเร็จแล้วเราจะมีความสุข รู้สึกผูกพันและให้คุณค่ากับผลงานนั้นมากๆ . เช่น ตู้ประกอบจาก ikea ที่เราเป็นคนซื้อและนั่งประกอบเองนั้น หลังประกอบเสร็จเราจะรู้สึกถึงความพึงพอใจและภาคภูมิใจที่ทำสำเร็จ แม้อาจจะลืมขันน๊อตไปสักตัวก็ตาม นั่นอาจเป็นเพราะเราสึกมีส่วนร่วมกับการทำให้มันเกิดขึ้นมา . รู้ไหมว่า ikea ไม่ใช่บริษัทแรกที่เข้าใจคุณค่าของการทำสิ่งต่างๆกับมือ ในประวัติศาสตร์ก่อนหน้านี้ เคยมีผลิตภัณฑ์แป้งเค้กสำเร็จรูปที่ทำเสร็จมาหมดแล้ว แม่บ้านเพียงแค่เติมน้ำ คนส่วนผสมและนำไปอบเท่านั้นเอง ก็จะได้เค้กแสนอร่อยออกมาให้ครอบครัวหรือแขกทานแล้ว แต่ว่าน่าแปลกผลิตภัณฑ์ที่แสนสะดวกนี้กลับขายไม่ดี ที่สำคัญคือไม่ใช่เพราะรสชาติด้วยนะ แต่เป็นเพราะกระบวนการที่ไม่ได้ทำให้คนทำรู้สึกมีส่วนร่วม ทางบริษัทแป้งเค้กจึงแก้ไขปัญหาโดยทำให้มันยากขึ้น แม่บ้านต้องมีมีส่วนร่วมมากขึ้น ต้องเป็นคนใส่ไข่เอง ใส่น้ำตาลเพิ่ม เพียงเท่านี้แม่บ้านก็พูดได้เต็มปากแล้วล่ะว่า นี่เป็นสูตรลับของครอบครัวเราเองนะและรู้สึกภูมิใจเวลามีคนชมว่าเค้กอร่อยจัง ทำให้ยอดขายแป้งเค้กก็เพิ่มขึ้นด้วย . ใส่ความเป็นตัวเรา . การมีโอกาสได้ตัดสินใจเลือกสิ่งต่างๆ เช่น การเลือกปริมาณไข่ นมและน้ำตาลใส่ลงในเค้ก เมื่อได้เป็นผู้ตัดสินใจ การเลือกแต่ละครั้งจะทำให้สิ่งของนั้นแสดงถึงตัวตนของเรามากขึ้น ยิ่งเราใช้ความพยายามในการเลือกมากเท่าไหร่ เรายิ่งมีแนวโน้มที่จะชอบผลลัพธ์สุดท้ายมากเท่านั้น เริ่มแรกฟังดูเหมือนเป็นเรื่องรสนิยม แต่แท้จริงแล้วการสร้างก่อให้เกิดความผูกพันและความรู้สึกถึงความเป็นตัวตนในสิ่งๆนั้น . เคยมีการทดลองหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยการจ้างผู้เข้าร่วมทดลองมาทำการสร้างนกกระเรียนและกบกระดาษ โดยมีอุปกรณ์ และคู่มือการพับที่บอกอย่างละเอียดว่าต้องพับอย่างไร พร้อมค่าจ้างรายชั่วโมงให้ . เมื่อการจ้างงานชั่วคราวจบลงผู้ทดลองก็ให้กลุ่มผู้สร้างลองประเมินราคาสูงสุดที่ยินดีจ่ายเพื่อจะนำผลงานกลับบ้านไปด้วย ซึ่งเรานำเอาความยินดีจ่ายจาก"กลุ่มผู้สร้าง"นี้ ไปเปรียบเทียบกับอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า "ผู้ซื้อ" ซึ่งคือคนที่ไม่ได้พับอะไร เพียงแต่ประเมินนกกระเรียนและกบกระดาษแล้วระบุว่ายินดีจ่ายเท่าไร ผลลัพธ์คือ ผู้สร้างยินดีเสียเงินซื้องานของตนในราคาที่มากกว่าผู้ซื้อถึง 5 เท่า . เราพบว่าความรักในผลงานทำให้ตาบอดจริงๆ ไม่เพียงแต่ผู้สร้างของเราไม่เพียงประเมินคุณค่าสูงกว่าถึง 5 เท่า แต่ยังเข้าใจว่าผู้อื่นจะรักงานศิลปะเหล่านี้เท่าที่พวกเขารักอีกด้วย และยังมีการทดลองต่อมาที่ให้ทำงานที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น และให้คู่มือไม่ชัดเจนเท่า ทำให้การพับยากกว่าเดิมมาก ผลลัพธ์คือนกกระเรียนและกบกระดาษออกมาอัปลักษณ์ยิ่งกว่าเดิม ผู้ซื้อยินดีจ่ายน้อยลง แต่ผู้สร้างกลับให้คุณค่างานของตนเองสูงกว่าตอนที่ได้วิธีพับชัดเจนเพราะพวกเขาใช้ความพยายามยิ่งกว่าเดิมเพื่อสร้างมัน การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่ายิ่งคนเราใช้ความพยายามมากขึ้นเท่าใด พวกเขาก็ยิ่งหวงแหนสิ่งที่สร้างขึ้นมากเท่านั้น . หากเราลองใช้วิธีคิดนี้กับมิติอื่นๆในชีวิต จะพบว่างานบางอย่างที่เราใช้เงินเพื่อความสะดวกสบาย อาจทำให้เราพลาดการมีส่วนร่วม ความสุขและความภาคภูมิใจไป เช่น การลงมือทำอาหารหรือขนมให้คนอื่นทาน จะมอบความสุขให้ผู้ทำมากกว่าใช้เงินซื้อและนำไปให้ หรือการทำการ์ดอวยพรด้วยตัวเองย่อมทำให้ทั้งผู้ให้และผู้รับรู้สึกถึงความหมายมากกว่าการ์ดสำเร็จรูปทั่วไปแน่นอน . นั่นเพราะการสร้างทำให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมและความภาคภูมิใจ และมอบความสุขให้เรา . . . จาก หนังสือ เราทำงานแล้วได้อะไร โดย Dan Ariely . . . #สุขศาสตร์ #อิเกียเอฟเฟค #การมีส่วนร่วม #ikeaeffect #Danariely #เราทำงานแล้วได้อะไร



ดู 0 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page