'ความโกรธ'
เป็นหนึ่งในอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกคน เมื่อเกิดอารมณ์โกรธ จะมีการเปลี่ยนแปลงสภาวะภายในร่างกายหลายๆ อย่าง เช่น หัวใจเต้นแรงและเร็ว กล้ามเนื้อตึงเครียด เนื้อตัวสั่น ร่างกายเหมือนมีแรงส่งและพร้อมที่จะขับดันพลังออกไป อารมณ์โกรธเป็นส่วนหนึ่งของระบบตอบสนองอัตโนมัติของร่างกายต่อเหตุการณ์ สู้ (fight)-หนี (flight)- ชะงักงัน (freeze) อันเป็นกลไกในการป้องกันตัวเองจากสิ่งคุกคามหรือภยันตรายภายนอก
.
ความโกรธเปรียบเหมือนการกำก้อนไฟไว้ในมือ นอกจากจะทำให้คนอื่นรู้สึกร้อนไม่อยากอยู่ใกล้แล้ว จิตใจของผู้ที่โกรธยังถูกไฟแห่งโทสะนี้เผาไหม้ไปด้วย
.
การสังเกตระดับความโกรธเบื้องต้นด้วยตนเอง
.
ระดับที่ 1 รู้สึกสบายใจ สนุก มีความสุข ผ่อนคลาย
ระดับที่ 2 ยังรู้สึกผ่อนคลาย แต่เริ่มหงุดหงิดเล็กน้อย
ระดับที่ 3 เริ่มรู้สึกเกร็งตามร่างกาย เริ่มรู้สึกโกรธ
ระดับที่ 4 อาจมีการตะโกนใส่ผู้อื่น ร่างกายเกร็ง กัดฟัน รู้สึกโกรธ
ระดับที่ 5 เริ่มโวยวาย หัวใจเต้นเร็ว กำมือแน่น รู้สึกโกรธมาก
.
การจัดการความโกรธ
เป้าหมายของการจัดการความโกรธคือ การลดอารมณ์โกรธ และลดการตอบสนองต่อ ความโกรธทั้งทางร่างกายและจิตใจ
.
1. การผ่อนคลายร่างกาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ กรามและหัวไหล่ เลิกกอดอก หมุนคอและไหล่ไปด้านหลังเพื่อยืดเหยียดเพราะการผ่อนคลายกล้ามเนื้อจะช่วยให้ลดความตึงเครียดจากความโกรธได้ด้วย
.
2. การเปลี่ยนขบวนความคิด รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรมที่เป็นผลจากอารมณ์โกรธนั้นสามารถช่วยให้รู้ตัวมากขึ้นและตัดสินใจได้ว่าจะจัดการกับอารมณ์โกรธอย่างไรก่อนที่จะตอบสนองออกไป
.
3. การแก้ปัญหา ทุกปัญหาย่อมมีหนทางแก้ไข วางแผนการแก้ปัญหาให้ดีที่สุด และไม่ต้องกล่าวโทษตัวเองหากปัญหานั้นยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์ ถึงแม้คุณจะได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม
.
4. การสื่อสารที่ดี คนที่โกรธมักจะด่วนหาข้อสรุป เมื่อมีความโกรธอย่ารีบตัดสินใจ อย่าพูดสิ่งที่ผุดขึ้นมาจากสมอง ให้คิดก่อนว่าจะต้องทำต้องพูดอย่างไร บางครั้งการหลบออกมาจากสถานการณ์จะช่วยให้เราสามารถซื้อเวลาได้ระยะหนึ่ง เพื่อที่จะกลับมาควบคุมตนเอง ขณะเดียวกันก็ต้องรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นและคิดก่อนที่จะตอบ เมื่อมีการตำหนิ จงรับฟังและพิจารณาเนื้อหาว่าเป็นจริงแค่ไหน
.
5. การใช้อารมณ์ขันเมื่อโกรธ หรือความเครียด จงใช้อารมณ์ขันช่วยแก้ สถานการณ์แต่ต้องใช้ให้ถูกกาลเทศะ
.
6. เตือนตัวเองด้วยคำง่ายๆ เช่น ใจเย็นๆ
.
7. การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่ทำโกรธ เช่น เลี่ยงการจราจรที่ติดขัด เลี่ยงการพูดเรื่องที่ทำให้โกรธ หรือการเปลี่ยนเวลาคุย เช่น การพูดคุยตอนเย็นมักทำให้เราโกรธง่าย (เนื่องจากความเครียดจากงาน) ก็ให้เปลี่ยนเวลามาเป็นคุยมาเป็นตอนเช้าแทน เป็นต้น
.
.
เรียบเรียงโดย สุขศาสตร์
.
.
#สุขศาสตร์ #ความสุข #สิ่งสำคัญ #หนังสือ #การอ่าน #ความโกรธ #วิธีรับมือความโกรธ #ควบคุมอารมณ์ #ความสัมพันธ์
