ฉลาดแล้วมีความสุขยาก?
เราอาจจะเคยได้ยินคนพูดกันว่าพวกฉลาดรู้มากมักไม่มีความสุขหรือคนฉลาดมักคิดมาก หรือเห็นคนที่ทำงานตำแหน่งสูงๆประสบความสำเร็จหน้าตาดูไม่มีความสุข บวกกับความคิดที่ว่าถ้าไม่เป็นคนฉลาดก็คงไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้เรามีภาพจำมองคนฉลาด...เป็นคนที่ไม่มีความสุขควบคู่ไปด้วย
.
การศึกษาความฉลาดและสุขภาพทางอารมณ์ในปี 2548 ซึ่งจัดทำขึ้นที่มหาวิทยาลัย Edinburgh ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างสมองกับความสุข ผลที่ตามมากับความฉลาดที่มากขึ้นเป็นเหมือนดาบสองคม ในแง่หนึ่งคนที่ฉลาดกว่ามีความพร้อมในการหาเลี้ยงตัวเองมากกว่า ในทางกลับกันคนเหล่านี้อาจไม่พอใจกับสภาพที่เป็นอยู่และพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายตลอดเวลา ส่วนคนที่ฉลาดน้อยกว่าและมีระดับรายได้ต่ำมักมีปัญหาการเลี้ยงชีพและมีคุณภาพชีวิตไม่ดี ส่งผลกระทบความสุขส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีความฉลาดระดับไหนล้วนประสบกับความทุกข์ได้ทั้งนั้น
.
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความสุขไม่ใช่ความฉลาด แต่เป็นคุณภาพชีวิต ต่อให้คุณเป็นอัจฉริยะแต่ใช้ชีวิตได้แต่บนเตียงเท่านั้น ก็อาจไม่มีความพึงพอใจในชีวิตเท่ากับคนที่มีสติปัญญาปานกลางที่ยังสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ เพราะคุณภาพชีวิตประกอบด้วยปัจจัยภายนอกหลายอย่าง ภูมิประเทศรอบตัว การศึกษา สังคมและเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งทำให้เกิดคำถามสำคัญคือ ถ้าความสุขเป็นอารมณ์ภายใน อารมณ์นั้นคือประเภทไหน และก่อให้เกิดความสุขได้อย่างไร?
.
ความสุขมาจากไหน?
.
เราอาจมีเสียงในหัวพูดถึงสิ่งที่จะทำให้มีความสุขหลายอย่าง บางทีอาจเป็นการเลื่อนตำแหน่งในที่ทำงาน รถใหม่หรือใครบางคนที่เราตกหลุมรัก แต่ความจริงคือ ครึ่งหนึ่งของสมการความสุขกลายเป็นเรื่องทางชีววิทยา
.
ยีนที่เราสืบทอดมาจากพ่อแม่ช่วยกำหนดลักษณะบุคลิกภาพบางอย่าง นักวิจัยพบว่าคุณลักษณะที่ได้จากพันธุกรรมเหล่านั้นส่งผลต่อความสุขส่วนตัวของเราประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ บางคนมีแนวโน้มที่จะรู้สึกพึงพอใจกับชีวิตมากขึ้น ในขณะที่บางคนจะโหยหาบางสิ่งบางเพื่อมาเติมเต็มชีวิตอยู่ตลอดเวลา
.
แต่โชคดีที่ไม่ใช่เหตุผลทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียวที่เป็นปัจจัยสำคัญ อีกครึ่งหนึ่งของสมการความสุขของคนเรานั้นเกิดจากปัจจัยอื่นๆ
.
และแม้ว่าความฉลาดจะไม่ส่งผลต่อความสุขที่แท้จริง แต่เราก็ต้องใช้พลังสมองในการปรับเปลี่ยนความคิดของตนเองให้มุ่งเน้นไปในทางที่ดี ซึ่งความรู้ทางสาขาจิตวิทยาสมัยใหม่ค้นพบว่า เราสามารถทำความเข้าใจและฝึกฝนตนเองให้มีความสุขมากขึ้นได้
.
ผู้บุกเบิกโดย Martin Seligman อดีตประธาน American Psychological Association จิตวิทยาเชิงบวกมุ่งเน้นไปที่อารมณ์เชิงบวกเช่น การมองโลกในแง่ดี การแสดงความกตัญญู และการมีสติมีอิทธิพลต่อความสุขและความพึงพอใจโดยรวม
.
เพราะพันธุกรรมที่เราได้รับมาส่งผลเพียงครึ่งเดียว
ดังนั้น “เพื่อเติมเต็มส่วนที่เหลือของสมการความสุข
จึงเป็นหน้าที่ของเรา”
.
การเรียนรู้จิตวิทยาเชิงบวกเป็นการเรียนรู้และทำความเข้าใจตนเองเพื่อประโยชน์แห่งความสุข คนฉลาดที่พร้อมจะทำความเข้าใจและนำไปปฏิบัติอาจจะมีชีวิตที่มีความสุขขึ้นได้มากกว่า
.
.
จากนั้นความสุขอาจทำให้คุณฉลาดขึ้นได้ การศึกษาทางระบบประสาทแสดงให้เห็นว่าอารมณ์ที่แจ่มใสช่วยส่งเสริมทักษะการคิดและความคิดสร้างสรรค์และคนที่มีความสุขมักจะมีชีวิตที่ยืนยาว
.
ความฉลาดเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรามีชีวิตที่มีความสุขได้ไม่ว่าจะส่งเสริมคุณภาพชีวิตหรือเรียนรู้ตัวตนภายใน เพื่อการมีวิธีคิดที่มีความสุข
.
.
.
#สุขศาสตร์ #ความสุข #สิ่งสำคัญ #หนังสือ #การอ่าน #ความสัมพันธ์ #ความฉลาด
