ทำไมเราถึงคิดว่าตัวเองถูกทั้งที่เราผิด?
ทำไมเราถึงคิดว่าตัวเองถูกทั้งที่เราผิด? ทำไมบางคนมองเห็นสิ่งต่างๆได้อย่างชัดเจนในขณะที่คนอื่นๆไม่เห็น? “Scout mindset ฝึกมองและคิด อย่างนักสอดแนม” . ลองจินตนาการถึงภาพของทหารที่กำลังรบพุ่งในสมรภูมิอันดุเดือด อะดรีนาลีนของทหารเหล่านั้นที่เพิ่มสูงถึงขีดสุด ความพยายามที่จะปกป้องตนเองและพวกพ้อง และการมุ่งที่จะเอาชนะศัตรู . ดังนั้น ความคิดแบบทหาร (Soldier mindset) จะเป็นไปเพื่อป้องกันตัวเองจากภยันตรายภายนอก อาจด้วยการเพิกเฉย การหาหลักฐานสนับสนุนความเชื่อ หรือหาเหตุผลเข้าข้างตนเองเพื่อที่จะตอบโต้ ไม่ยอมรับว่าสิ่งที่ตนคิดหรือทำนั้นผิด เพราะหากยอมรับก็เหมือนกับว่าพ่ายแพ้ (ทหารแถวๆนี้บางคนพูดเข้าข้างตัวเอียงจนสีข้างถลอกแถมยังชี้หน้าคนฟังไปด้วย... ) . ตอนนี้ให้ลองจินตนาการถึงบทบาทที่แตกต่างไปจากเดิมคือ ‘นักสอดแนม’ หน้าที่ของหน่วยสอดแนมไม่ใช่การโจมตีหรือป้องกัน แต่คือผู้ที่ออกไปหาข่าว สำรวจ ทำแผนที่ภูมิประเทศ ระบุอุปสรรคในการรบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด สำหรับกองทัพแล้ว ทั้งทหารและหน่วยสอดแนมต่างก็มีความสำคัญด้วยกันทั้งคู่ . คำว่า 'scout' หากใช้ในทางการแพทย์ มักหมายถึงการถ่ายภาพรังสีเพื่อสำรวจ(scout film) เป็นการตรวจสอบเบื้องต้นว่า ตำแหน่งของภาพนั้นอยู่ในขอบเขตที่ถูกต้อง แพทย์สามารถมองเห็นอวัยวะที่ต้องการจะตรวจสอบได้อย่างชัดเจน ก่อนที่จะทำการถ่ายจริง . ทั้งนี้นอกจากต้องการตำแหน่งของภาพที่เหมาะสมแล้ว ยังเป็นช่วยลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับหากตำแหน่งที่กำหนดไว้นั้นผิดพลาด . การมีความคิดแบบหน่วยสอดแนมหรือ 'scout mindset' คือการศึกษาข้อมูล และพิจารณาเพื่อไม่ให้ความคิดใดความคิดหนึ่งนั้นชนะหรือแพ้ แต่เพื่อที่จะตรวจสอบ อย่างตรงไปตรงมาและถูกต้องที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถึงแม้ว่าความคิดนั้น จะไม่น่าพอใจเท่าไหร่ก็ตาม และอารมณ์ คือสิ่งสำคัญที่จะคอยบงการการตัดสินใจที่ถูกต้องของเรา . คนที่มี scout mindset เป็นคนที่อยากรู้อยากเห็น พวกเขามักจะมีความสุขเมื่อได้ ไขปริศนาหรือเรียนรู้ข้อมูลใหม่ ๆ พวกเขามักจะรู้สึกแปลกใจเมื่อสิ่งที่ได้พบ ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ที่สำคัญคือการมีทัศนคติที่ว่า . ‘ถึงแม้ฉันจะคิดผิดก็ไม่ได้หมายความว่า ฉันนั้นเลวหรือโง่’ และทัศนคตินี้ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความฉลาด หรือ IQ แต่อย่างใด . หากอยากพัฒนาตัวเองให้มี scout mindset เราต้องเปลี่ยนวิธีคิดด้วยการ 'สร้างความรู้สึกภาคภูมิใจแทนที่จะรู้สึกละอายใจ’ เมื่อเห็นว่าเราได้ทำอะไรผิดพลาด และกล้าที่จะยอมรับความเห็นที่ขัดแย้งกับความเชื่อของเรา . เมื่อต้องตัดสินใจ ให้ถามตัวเองทุกครั้งว่าเราต้องการอะไร - ระหว่างการเอาชนะเพื่อปกป้องความเชื่อของตัวเอง หรือการยอมถอยออกจากความเชื่อเดิม เพื่อตั้งสติ และมองโลกให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ . . . . . อ้างอิงจาก Julia Galef TEDxPSU “Why you think you’re right — even if you’re wrong?” “ทำไมเราถึงคิดว่าเราถูก ทั้งที่เราผิด” #สุขศาสตร์ #mindset #ความคิดสร้างสรรค์ #ความสุข
