top of page

ระยะห่างระหว่างความรู้สึก

ขณะที่เรากินอิ่มมากๆ แต่เพื่อนเกิดตั้งคำถามขึ้นมาว่า “มื้อต่อไปกินอะไรดี” คงจะเป็นเรื่องยากที่จะคิดออกและการตอบคำถามนี้จะเป็นเรื่องง่ายกว่ามาก ถ้าเรารู้สึกหิว

.

วันนี้สุขศาสตร์ชวนมาทำความเข้าใจกับ “ช่องว่างระหว่างความรู้สึก - empathy gap”

.

จอร์จ โลเวนสไตน์ นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน แยก empathy gap ออกเป็น 2 ประเภท

.

1.Cold-hot empathy gap (เย็นไปร้อน)

.

คนที่อยู่ในสภาวะอารมณ์เย็น หมายถึงคนที่ไม่ได้รู้สึกอยาก รู้สึกโกรธ รู้สึกขยะแขยง การจะจินตนาการถึงอารมณ์ร้อนเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เช่น เมื่อเรากินข้าวอิ่มๆ เราจะนึกไม่ออกเลยว่าหิวเป็นอย่างไร ไม่เหมือนตอนที่เรามานั่งโต๊ะแล้วสั่งอาหารมากมาย ทำให้เราสั่งมามากเกินพอดี

.

2.Hot-cold empathy gap (ร้อนไปเย็น)

.

คนที่อยู่ในภาวะอารมณ์ร้อน ก็มักจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองอยู่ในสภาวะนั้น ทำให้ไม่สามารถประเมินอารมณ์ที่แท้จริงของตัวเองได้ อย่างเช่น คนที่โกรธอาจจะพูดว่า “ไม่ได้โกรธ” และไม่รู้ตัวว่าตัวเองโกรธซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจที่ตัวเองจะเสียใจในภายหลังได้

.

เราจะสามารถเข้าใจอะไรบางอย่างได้ดีหรือไม่ดี มักขึ้นกับสภาวะและความรู้สึกในขณะนั้นด้วย

ถ้าเรารักใครจนหน้ามืดตามัว ในขณะนั้นเรามักจะนึกถึงวันที่ไม่มีเขาไม่ออกเลย หรือ ถ้าเรารวยมากจนไม่กังวลเรื่องเงินทอง เราก็มักจะเข้าใจคนที่จนมากๆได้ยากเช่นกัน

.

ปัญหาที่มาจาก empathy gap

.

เมื่อเรามีช่องว่างระหว่างความรู้สึกเกิดขึ้น ทำให้เราประเมินความรู้สึกของตัวเองผิดพลาดและที่ยิ่งไปกว่านั้นคือการประเมินความรู้สึก “คนอื่น” ผิดพลาด เพราะเราไม่ได้รู้สึกเหมือนคนอื่น เช่น เราอาจไม่เข้าใจคนที่รู้สึกกังวลใจในเรื่องที่เราคิดว่าไม่น่ามีอะไรให้ต้องกังวล การที่เราคิดไปเองว่าคนอื่นๆจะต้องรู้สึกเหมือนเรา หรือพยายามนึกการที่เราทำแบบนี้เพราะคิดว่าเขาจะรู้สึกอย่างนี้แต่ความเป็นจริงแล้วเขารู้สึกตรงกันข้าม

.

วิธีควบคุม empathy gap เพื่อตัวเราเองและคนรอบข้าง

.

1.นึกถึงความรู้สึกของเราในอนาคตบ้าง

2.นึกถึงความรู้สึกของคนอื่น อย่าด่วยตัดสินความรู้สึกคนอื่น ไม่ใช่ทุกคนจะคิดเหมือนเรา

3.อย่าให้ความรู้สึกในปัจจุบันมาควบคุมการทำนายความรู้สึกของตนเองในอนาคต

.

การทำความเข้าใจและควบคุม empathy gap จะช่วยให้เราเข้าใจตนเองและคนรอบข้างมากขึ้น เพราะความรู้สึกในขณะหนึ่งอาจบดบังและทำให้เราไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกของคนอื่นหรือแม้แต่ตนเองในอนาคตได้

.

.

อ้างอิงจากThe Emotional Man มนุษย์อารมณ์ โดย ณัฐวุฒิ เผ่าทวี

.

.

.

#สุขศาสตร์ #อารมณ์ #emotional #emotion #empathygap




ดู 9 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page