‘สร้างเรื่องเล่า เพื่อให้ตัวเราดีขึ้น’
พลังของเรื่องเล่า (Power of Storytelling) และฮอร์โมนแห่งความรัก . การเล่าเรื่อง เป็นโครงสร้างสัญลักษณ์ที่เราใช้เพื่อการเข้าใจชีวิต เราสามารถสร้างเรื่องเล่าของเราได้ด้วยการ: . . เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการรับมือกับอุปสรรคและความเครียดในแต่ละวันของเรา
. เล่าเรื่องที่กว้างขึ้นถึงตัวตนและการเดินทางตลอดชีวิตของเรา อาจมีองค์ประกอบหลายอย่างของการเล่าเรื่อง เช่นความขัดแย้ง จุดเปลี่ยนธีมของเรื่องและตัวละครหลัก บ่อยครั้งการเล่าเรื่องมุ่งเน้นให้เห็นความทุกข์ ความสงสาร การให้อภัยหรือการเอาใจใส่ . คนที่สามารถเล่าเรื่องได้อย่างมีชีวิตชีวาและน่าสนใจกว่า มักจะมีความพึงพอใจในชีวิตมากกว่า มี “Possible self” มากขึ้น - เรื่องราวหรือตัวตนที่แตกต่างกัน สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าที่น้อยลง . “เรื่องเล่า-เปลี่ยนสมองของเราได้อย่างไร” . เรื่องเล่าที่ทรงพลังจะดึงดูดความสนใจของเรา นำเราเข้าสู่โลกของตัวละคร ทำให้ระดับฮอร์โมน Oxytocinในร่างกายของเราเพิ่มขึ้น ทำให้เรามีจินตนาการร่วมไปกับอารมณ์ของตัวละคร . เรื่องเล่าเหล่านี้มักอยู่ในรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน เรื่องเล่าที่เราอ่านแล้วรู้สึกสนุกมักเริ่มต้น ด้วยเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจ เหตุการณ์ที่เราไม่คาดคิด จากนั้น นำตัวละครเข้าไปสู่ความตึงเครียดและความยากลำบาก และจบด้วยไคลแม็กซ์ซึ่งเป็นการกระตุ้นความคิดหรือให้คติสอนใจ ในรูปแบบของ Hero’s Journey” . ‘Oxytocin จึงเป็นฮอร์โมนที่เชื่อมโยงระหว่างเรื่องเล่า กับการพยายามเป็นคนที่ดีขึ้น ‘ . Oxytocin ฮอร์โมนแห่งความรักและห่วงใย(ตนเองและผู้อื่น) . ฮอร์โมน Oxytocin ที่เพิ่มขึ้นทำให้เรามีแนวโน้มที่จะบริจาคเพื่อการกุศล หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพเช่นการสูบบุหรี่ ดังนั้นการสร้างเรื่องเล่าเชิงบวกของตัวเองและซึมซับเรื่องเล่าเหล่านั้น จึงช่วยให้เรามีคุณธรรมมากขึ้นและมีความสุขมากขึ้นด้วย . . . . อ้างอิงจาก The Power of Narrative: Dacher Keltner
