top of page

"อ่านยังไงให้ไม่ลืม"

สมองของมนุษย์ส่วนที่เรียกว่าอะมิกดาล่า (Amygdala) เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่ตอบสนองต่อความเศร้า วิตกกังวลและความเครียด การป้อนสัญญาณภาษาเข้าไปในสมองจะช่วยลดความตื่นตัวของ amygdala ดังนั้นการป้อนสัญญาณภาษาด้วย "การอ่าน" จึงช่วยคลายความกังวลได้

.

สมองส่วน Dorso lateral prefrontal cortex (DLPFC) จะตื่นตัวเวลาเราจดจ่อกับการอ่านหนังสือ DLPFC มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาและเป็นสมองส่วนที่ใช้ในการสร้างสมาธิ

.

กฎสามข้อที่ช่วยให้อ่านแล้วจำได้ไม่ลืม

.

1. จำเนื้อหาที่อ่านให้ได้ โดยการทำ output ให้ได้ 3 ครั้งต่อสัปดาห์

สมองเอาข้อมูลมากมายเก็บไว้ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ซึ่งจะเก็บความทรงจำระยะสั้น แต่หากเป็นเรื่องสำคัญจะส่งข้อมูลไปเก็บไว้ในสมองส่วน temporal lobe (ความทรงจำระยะยาว)

.

4 วิธีสร้าง output

-อ่านหนังสือพร้อมจดโน๊ตหรือใช้ปากกาไฮไลท์

-เล่าเนื้อหาในหนังสือให้คนอื่นฟังหรือแนะนำให้คนอื่นอ่าน

-เขียน share สิ่งที่ฉุกคิดหรือคำคมลงใน FB (ใช้ 3นาที)

-เขียน share วิจารณ์หนังสือลงใน FB (ใช้ 15 นาที) โดยอ่านจบแล้ว *ให้เขียนความรู้สึกที่มีต่อหนังสือทันที แต่หากเป็นการวิจารณ์ให้รอ 1 วัน*

.

สมองจะลบข้อมูลที่ไม่สำคัญและเก็บข้อมูลสำคัญคือ เรื่องที่ใช้บ่อย, เรื่องที่กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก โดยมีฮอร์โมนหลายชนิด ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก ได้แก่:

- Adrenaline/noradrenaline กังวล กลัว

- Dopamine ตื่นเต้น

- Endophine สนุกสนาน

- Oxytocin ความรักการสัมผัส

.

2. อ่านในขณะว่างช่วงสั้นๆ ตั้งเป้าหมาย จำกัดเวลาเพื่อสร้างแรงกดดันให้กับตัวเอง เพื่อทำให้เรามีสมาธิมากขึ้น (เราจะจำได้ดีที่สุดตอน 5 นาทีแรกกับ 5 นาทีสุดท้ายของการอ่าน เพราะฉะนั้นแบ่งซอยเวลาอ่านเป็น 15นาที 4 ช่วง ดีกว่ารวดเดียว 60 นาที ยกเว้นหนังสือนั้นสร้างอารมณ์ความรู้สึกอินให้เราติดตามควรอ่านรวดเดียวจบ)

.

3. ทำความเข้าใจเนื้อหา อ่านให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งจนสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือได้ จำไว้ว่า "คุณภาพ" ของการอ่านสำคัญกว่า "ปริมาณ"

.

เทคนิคการอ่านให้ไม่ลืม

.

1.สแกนหาเป้าหมายของการอ่าน เป็นการกำหนดเส้นชัย(เป้าหมาย)ว่าอยู่ตรงไหนและจะเดินทางไปอย่างไรให้ถึงเส้นชัย

-เพื่อทำความเข้าใจภาพรวมของหนังสือ

-เพื่อกำหนดเป้าหมายในการอ่าน

-เพื่อตัดสินใจว่าจะอ่าน คร่าวๆ หรือ ละเอียด

.

2.เปิดข้ามไปอ่านเนื้อหาที่อยากรู้ก่อน หนังสือมีเอาไว้ให้เรา "เรียนรู้"หรือ "ฉุกคิด" (ขอแค่ได้สองอย่างนี้พอแล้ว)

.

3.อ่านหนังสือที่รู้สึกว่ายาก

.

4.การอ่านอย่างมีความสุขช่วยให้จำได้ไม่ลืม

.

5.ตีเหล็กตอนกำลังร้อน(ถ้าสนุกตื่นเต้นโดปามีนหลั่ง ก็อ่านรวดเดียวจบ)

.

6.ลองหาโอกาสไปพบกับนักเขียน เพื่อสร้างอารมณ์ร่วมเพิ่มให้การอ่าน

.

.

.

อ้างอิงจาก: เทคนิคอ่านให้ไม่ลืม ที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ/ คะบะซะวะ ชิอง




ดู 0 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page