'เล่าเรื่องเชิงบวกด้วย วงล้อแห่งอารมณ์ Wheel of Emotions'
จากการวิจัยของบริษัทไมโครซอฟท์ในปี 2015 พบว่า ที่มนุษย์มีสมาธิที่จะจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (Attention span) เฉลี่ยเพียง 8 วินาที ซึ่งสั้นกว่าปลาทองที่มี attention span 9 วินาที ! และลดลงจากปี 2000 ซึ่งอยู่ที่ 12 วินาที . นักวิทยาศาสตร์ได้เคยทำการทดลองและสรุปได้ว่า มนุษย์เราจะอยู่กับเรื่องราวในสมอง เฉลี่ยวันละ 60,000-70,000 เรื่อง เมื่อเข้านอนแล้วก็ยังฝันได้อีกในทุก 45 นาที ตลอดคืน . มนุษย์เป็น ‘จอมเล่าเรื่อง’ . ที่เป็น Homo Sapiens มาจนถึงทุกวันนี้ มนุษย์เราอยู่กับเรื่องราวและเรื่องเล่าสืบเนื่องกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษในยุคดึกดำบรรพ์ จนเรียกว่าได้ว่ามนุษย์นั้นเป็น Story animal . เรื่องเล่า (Story) จึงมีผลอย่างมากต่อความคิด ความรู้สึก ก่อให้เกิดความพึงพอใจไม่พึงพอใจ และความรู้สึกก็จะมีผลให้เกิดการกระทำในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง . Story-->Catch Attention-->Create Thoughts-->Emotion/Feeling-->Judgment-->Decision Making-->Action-->Recording Memory for the Future . 'เรื่องเล่าที่ดี'นอกจากจะตรึงสมาธิของเราได้ ยังทำให้เรา ‘จำ’ สิ่งที่ถูกเล่านั้นได้อย่างแม่นยำ เพราะทำให้ จิตของผู้ฟังไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็น 'ผู้สังเกตการณ์' แต่ยังทำทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง เสมือนอยู่ร่วมในเรื่องราวนั้นด้วย เพราะจิตของมนุษย์ประกอบด้วย: . . จิตใต้สำนึก เป็นส่วนที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในทุกส่วน โดยที่เราไม่รู้ตัว (นักจิตวิทยาเรียกว่า System 1) . จิตสำนึก คือจิตที่เราใช้นึกคิด ทำงาน คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล (นักจิตวิทยาเรียกว่า System 2) . เมื่อเราหัดทำอะไรใหม่ๆ เช่น หัดเขียน อ่าน หรือหัดขี่จักรยาน หัดขับรถ เราใช้จิตสำนึกกระทำ เมื่อเราอ่านเขียน ขี่จักรยาน หรือขับรถเป็นแล้ว เราก็จะใช้จิตใต้สำนึก (system1) ทำงานแทนเกือบทั้งหมด . จิตสำนึกจะเชื่อมโยงกับเหตุผล ส่วนจิตใต้สำนึกจะเชื่อมโยงกับอารมณ์ของเราโดยตรง เช่น มีผลต่อความกลัว มีผลต่อความคาดหวัง และมีผลต่อการให้ตัดสินและให้คุณค่าต่อเรื่องราวหรือสิ่งนั้นๆ . วงล้อแห่งอารมณ์ (Wheel of Emotions) Robert Plutchik . Robert Plutchik ผู้สร้างวงล้อแห่งอารมณ์ เสนอว่าอารมณ์หลัก (Basic Emotions) ประกอบด้วย 4 คู่ตรงข้าม ได้แก่ . ความรื่นเริง (Joy) คู่กับ ความเศร้า (Sadness) ความโกรธ (Anger) คู่กับ ความกลัว (Fear) ความวางใจ (Trust) คู่กับ ความรังเกียจ (Disgust) ความประหลาดใจ (Surprise) คู่กับ ความคาดหวัง (Anticipation) . โดยในแต่ละอารมณ์หลัก ยังประกอบด้วยความเข้มข้น (Intensity) ทางอารมณ์ที่ทำให้เกิดอารมณ์ย่อยต่างๆตามมา ได้แก่ . ความรื่นเริง (Joy) อยู่ระหว่าง ความสงบปลอดโปร่ง (Serenity) และ ความปิติยินดี (Ecstasy)
ความเศร้า (Sadness) อยู่ระหว่าง ความหดหู่ (Gloominess) และ ความเศร้าโศก (Grief)
ความโกรธ (Anger) อยู่ระหว่าง ความรำคาญ (Annoyance) และ ความเดือดดาล (Fury)
ความกลัว (Fear) อยู่ระหว่าง ความขี้ขลาด (Timidity) และ ความหวาดกลัว (Terror)
ความวางใจ (Trust) อยู่ระหว่างความยอมรับ (Acceptance) และ ความยกย่อง (Admiration)
ความรังเกียจ (Disgust) อยู่ระหว่าง ความไม่ชอบ (Dislike) และ ความรังเกียจเดียดฉันท์ (Loathing)
ความประหลาดใจ (Surprise) อยู่ระหว่าง ความไม่มั่นใจ (Uncertainty) และ ความพิศวง (Amazement)
ความคาดหวัง (Anticipation) อยู่ระหว่าง ความสนใจ (Interest) และ การเฝ้าดู (Vigilance) . . นอกจากนี้เมื่อนำอารมณ์หลักต่างๆมาผสมกันแล้ว ก็จะเกิดอารมณ์ใหม่ๆ ขึ้นมาอีกมากมาย เช่น . ความรัก (Love) เกิดจาก ความรื่นเริง (Joy) + ความวางใจ (Trust) . การยอมจำนน (Submission) เกิดจาก ความวางใจ (Trust) + ความกลัว (Fear) . ความสะพรึงกลัว (Awe) เกิดจาก ความกลัว (Fear) + ความประหลาดใจ (Surprise) . การไม่ยอมรับ (Disapproval) เกิดจาก ความประหลาดใจ (Surprise) + ความเศร้า (Sadness) . ความไม่เชื่อ (Unbelief) เกิดจาก ความประหลาดใจ (Surprise) + ความรังเกียจ (Disgust) . ความสำนึกผิด (Remorse) เกิดจาก ความเศร้า (Sadness) + ความรังเกียจ (Disgust) . การสบประสาท (Contempt) เกิดจาก ความรังเกียจ (Disgust) + ความโกรธ (Anger) . ความก้าวร้าว (Aggressiveness) เกิดจาก ความโกรธ (Anger) + ความคาดหวัง (Anticipation) . การมองโลกในแง่ดี (Optimism) เกิดจาก ความคาดหวัง (Anticipation) + ความรื่นเริง (Joy) . ความปลาบปลื้มใจ (Delight) เกิดจาก ความรื่นเริง (Joy) + ความประหลาดใจ (Surprise) . ความอยากรู้ (Curiosity) เกิดจาก ความวางใจ (Trust) + ความประหลาดใจ (Surprise) . ความเชื่อ (Fatalism) เกิดจาก ความวางใจ (Trust) + ความคาดหวัง (Anticipation) . ความอิจฉา (Envy) เกิดจาก ความเศร้า (Sadness) + ความโกรธ (Anger) . การดูถูกถากถาง (Cynicism) เกิดจาก ความรังเกียจ (Disgust) + ความคาดหวัง (Anticipation) . . มนุษย์เป็นจอมเล่าเรื่อง ซึ่งอยู่กับเรื่องราวและเรื่องเล่าตลอดเวลา การเข้าใจวงล้อของอารมณ์ จึงช่วยให้เราเข้าใจถึงที่มาของอารมณ์เชิงบวก . การเล่าเรื่องให้กับตัวเอง (Self-storytelling) จึงเป็นการสร้างการตระหนักรู้ทางอารมณ์ (Emotional Awareness) . และการเล่าเรื่องเชิงบวก นอกจากจะเป็นการกระตุ้นอารมณ์เชิงบวกให้กับตัวเองแล้ว ยังเป็นการส่งต่อความรู้สึกเชิงบวกนั้นไปให้กับผู้คนรอบข้างได้อีกด้วย' . . . #สุขศาสตร์ #ความสุข #สิ่งสำคัญ #หนังสือ #การอ่าน #ความสัมพันธ์ #selfstorytelling #emotional #awareness
