top of page

“3 นิสัยแห่งความสำเร็จ จาก 3 เจ้าของรางวัลโนเบล”

สงสัยใคร่รู้ “การตั้งคำถาม” สำคัญกว่าการหาคำตอบ เราต้องฝึกตนให้มีความกระหายการเรียนรู้อยู่เสมอ ความกระหายการเรียนรู้เป็นเสมือนโรคติดต่อ เพราะเมื่อมีคนหนึ่งจุดประกายความสงสัยขึ้นมา ความสงสัยนั้นก็จะแพร่กระจายไปยังคนอื่นได้ โจทย์สำคัญคือจะทำอย่างไรให้ความสงสัยใคร่รู้ไม่ดับมอดลงไป ครูอาจารย์และระบบการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ ควรจะพัฒนาแนวคิดให้เด็กนักเรียนนักศึกษา กล้าที่จะถาม ไม่กลัวว่าการถามนั้นเป็นความผิด จุดนี้เป็นปัญหามากสำหรับระบบการศึกษาไทย ที่ครูมักวางอำนาจเหนือนักเรียนและมีกรอบความคิดที่ว่าการตั้งคำถามต่อตนนั้นเป็นการท้าทาย นอกจากจะไม่กระตุ้นความสงสัยใคร่รู้ ยังเป็นการทำให้ความใฝ่รู้ที่มีอยู่ของผู้เรียนนั้นดับมอดลงไปด้วย . สะเปะสปะ บางครั้งการลองผิดลองถูกอย่างสะเปะสปะไร้ทิศทาง ทำให้เราก้าวผ่านกรอบความคิดเดิมๆ ก้าวข้ามขีดจำกัดและกฎเกณฑ์ที่ถูกตีตราไว้ บางครั้งการหลงทางก็ทำให้เราค้นพบเส้นทางใหม่ๆได้เช่นเดียวกัน บางครั้งเรามัวแต่กังวลว่าเราไม่ใช้กูรู ไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญ แต่จริงๆแล้วความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆก็มักเกิดจากความไม่เชี่ยวชาญนี่แหละ เพราะคนที่ไม่เชี่ยวชาญมักจะมองปัญหาจากมุมมองใหม่ ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญนั้นคุ้นชินกับ “แว่นตา”ของตัวเองที่ใส่มองปัญหามาตลอดชีวิต . พากเพียร ความพากเพียรคือความอดทน ยอมรับต่อความล้มเหลว แต่ไม่ยอมแพ้ องค์ความรู้แต่ละอย่างกว่าจะได้มาต้องใช้การฝึกฝน เรียนรู้ ทดลอง ต้องใช้ความเพียร หากยอมแพ้เสียกลางทาง ก็ไม่มีทางที่นองค์ความรู้ใหม่ๆหรือนวัตกรรมใหม่ๆจะบังเกิดขึ้นได้ . นิสัยทั้งสามอย่างเป็นสิ่งประจำตัวของผู้ที่ใฝ่เรียนรู้และพัฒนาตัวเองตลอดชีวิต เป็นเคล็ด(ไม่)ลับ แห่งการเรียนรู้ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้เพื่อหา ‘รางวัลโนเบลของตัวเอง’ ให้ได้ . . สามนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล Professor Joseph Stiglitz, Professor Robert Shiller (สาขาเศรษฐศาสตร์) และ Brian Schmidt (สาขาฟิสิกส์)

อ้างอิงจาก: The Great Remake ดร.สันติธาร เสถียรไทย #สุขศาสตร์ #success #consequences #lifetips #habits #การงาน #ชีวิต #เรียนรู้ #ชีวิต




ดู 0 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page