“What doesn't kill me makes me stronger”
• อะไรที่ไม่ทำให้เราถึงตาย ทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นได้…. จริงหรือ? • คนเราสามารถที่จะยืดหยุ่นกับปัญหา อุปสรรค และความทุกข์ที่เข้ามาในชีวิตได้ดีเพียงไร?
การศึกษาของ Dr. Mark D. Seery (University of Buffalo) และคณะ พบว่าเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจเช่น ภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ การล่วงละเมิดทางเพศ หรือการสูญเสียคนที่คุณรัก จะก่อความกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง
คนที่ประสบกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจเหล่านี้บ่อยครั้ง อาจนำไปสู่ปัญหาทางจิตใจ ที่เรียกว่า PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) หรือความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ
ในขณะเดียวกันก็ยังพบอีกว่า คนที่เคยประสบกับเหตุสะเทือนใจเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีเลย ก็มีโอกาสจะเกิด PTSD ได้ในระดับที่ใกล้เคียงกัน เราจึงต้องพยายามประคองชีวิตให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม (Sweet Spot) ปล่อยให้ชีวิตได้เผชิญกับความยากลำบากบ้าง แต่ก็ต้องไม่มากจนเกินไป เพราะ... “Bad things are still bad things-- สิ่งเลวร้ายก็ยังคงเป็นสิ่งเลวร้ายอยู่วันยังค่ำ”
ในทุกย่างก้าวของชีวิต ย่อมต้องมีล้มลงบ้างเป็นบางเวลา อาจต้องเผชิญกับความยากลำบาก ความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส จนจมดิ่งไปในห้วงแห่งทุกข์
... ณ จุดนั้นเอง การที่ยังสามารถลุกขึ้นยืนใหม่ และกลับมาเข้มแข็งยิ่งขึ้นกว่าเดิมได้... เราเรียกสิ่งนี้เรียกว่า ‘Resilience’ หรือความยืดหยุ่น ‘Resilience’ คือความสามารถในการลุกขึ้นยืนได้ จากการต่อสู้ที่หนักหน่วงที่สุด แม้ว่าคุณจะรู้สึกเหมือนโดนทุบเข้าที่ศีรษะอย่างจังก็ตาม
เหตุใดบางคนจึงมีคุณสมบัติของความยืดหยุ่นอยู่ในตัว ในขณะที่บางคนไม่สามารถที่จะฟื้นตัวต่อสู้เพื่อก้าวให้พ้นจากความทุกข์และความเจ็บปวดนั้นได้?
คนที่มี Resilience มักมีทัศนคติที่ดีมองโลกในแง่บวกว่า ‘ความล้มเหลวคือโอกาสของการเรียนรู้’ ที่สำคัญคือ คนที่ resilience มักจะมีเครือข่ายครอบครัวและเพื่อนที่คอยให้การสนับสนุนและให้กำลังใจ
•ปัจจัยที่ส่งผลให้เรามี Resilience•
1. มีมุมมองที่เป็นบวก และมั่นใจในตัวเองว่าจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบากได้ 2. มีความรอบรู้ในการสื่อสารและการแก้ปัญหา 3. มีทัศนคติ “ไม่ยอมแพ้” เป็นกุญแจสำคัญ 4. ความสามารถในการตัดสินใจสร้างแผนการและความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามแผนนั้น 5. ความสามารถในการถอยห่างจากสถานการณ์ (โศกนาฏกรรม-ความยากลำบาก-ความพ่ายแพ้หรือวิกฤตการณ์) เพื่อมองเห็นภาพรวมที่ใหญ่ขึ้น
สำหรับวลี “What does not kill me, makes me stronger” นั้น มาจากนักปรัชญาชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียงมาก Friedrich Nietzsche(1844-1900)
ตลอดชีวิตของ Nietzsche ต้องเผชิญกับความเศร้าและความยากลำบากตลอดทุกช่วงของชีวิต เขาสูญเสียพ่อของเขาตั้งแต่อายุได้เพียงห้าขวบ ผิดหวังจากความรัก ความป่วยไข้ เสียสติเนื่องจากสมองถูกทำลายจากเชื้อซิฟิลิส และตายจากเนื้องอกในสมอง
ขอจบบทความนี้ให้ทันยุคขึ้นมาหน่อยด้วยเพลง 'Stronger' ของ Kelly Clarkson
What doesn't kill you makes you stronger อะไรที่ไม่ทำให้ตาย ทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น Stand a little taller ยืนสูงขึ้น Doesn't mean I'm lonely when I'm alone โดดเดี่ยวแต่ไม่เดียวดาย What doesn't kill you makes a fighter อะไรที่ฆ่าเราไม่ตาย ทำให้เราฮึดสู้ Footsteps even lighter เสียงฝีเท้าที่แผ่วลง Doesn't mean I'm over 'cause you're gone แม้คุณจะจากไป..ก็ไม่ได้หมายความว่า..'ฉันจบแล้ว นะเธอ'